เทคนิคการเขียน Resume ให้ผ่าน
ไม่ว่าจะเป็น First jobber หรือคนที่กำลังมีแพลนจะเปลี่ยนงานใหม่ หัวใจสำคัญที่จะทำให้เราผ่านด่านแรกของการคัดกรองจากฝ่ายบุคคลในแต่ละองค์กรได้ก็คือ Resume ดังนั้นในบทความนี้จะพามาดูเทคนิคการเขียน Resume ที่ตอบโจทย์ เขียนยังไงให้ได้ไปต่อและเป็นคนที่ถูกเลือก
องค์ประกอบที่ควรมีในการเขียน Resume
รูปแบบของการเขียน Resume
การเขียน Resume มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการนำเสนอ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
- เขียน Resume แบบเรียงตามลำดับเวลา: เป็นรูปแบบการเขียน Resume ที่เหมาะกับการนำเสนอประสบการณ์ทำงานที่หลากหลาย และเหมาะกับคนที่ไม่เคยมีช่วงว่างงาน ทำให้เห็นถึงประการณ์ทำงานตามระยะเวลา การเติบโตในสายงาน แนะนำให้วางประสบการณ์ทำงานล่าสุดไว้ด้านบน และเขียนต่อลงไปเรื่อย ๆ
- เขียน Resume แบบเน้นทักษะความสามารถ: เป็นการเขียน Resume แบบจับกลุ่มทักษะที่มีไว้ด้วยกัน แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อ เช่น กลุ่มทักษะงานบริการ กลุ่มทักษะการจัดการคำร้องเรียน ฯลฯ พร้อมทั้งอธิบายในหัวข้อทักษะต่าง ๆ ว่าเคยทำอะไรมา กระบวนการอย่างไร และผลเป็นอย่างไรแบบย่อ ๆ
- เขียน Resume แบบผสม: จะเป็นรูปแบบของ Resume ที่นิยมมากที่สุด คือมีการนำเสนอทักษะที่มี พร้อมทั้งข้อมูลประสบการณ์ทำงานแบบเรียงตามลำดับเวลาจากปัจจุบันไปจนถึงอดีต เหมาะกับทั้งเด็กจบใหม่และคนที่ต้องการย้ายงาน
ใส่ข้อมูลส่วนตัว พร้อมทั้งช่องทางการติดต่อ
ข้อมูลส่วนตัวและช่องทางกรติดต่อกลับเป็นส่วนสำคัญในการเขียน Resume เพื่อให้ฝ่ายบุคคลหรือบริษัทที่เราสมัครไปสามารถติดต่อกลับมาได้ ควรวางไว้บริเวณด้านบนของ Resume โดยใส่ชื่อนามสกุลเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษ ขึ้นอยู่กับว่าต้องการเขียน Resume เป็นภาษาอะไร หรือใส่ทั้งสองภาษาก็ได้เช่นกัน
ในส่วนของข้อมูลการติดต่อที่จำเป็นต้องเขียนลงไปใน Resume คือ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล ส่วนที่อยู่ปัจจุบัน ควรเป็นที่อยู่ที่พักอาศัยจริง เนื่องจากผู้สัมภาษณ์อาจใช้พิจารณาระยะทางในการเดินทางมาทำงานควบคู่กัน ส่วนข้อมูลการติดต่อทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Instagram, Facebook, Tiktok หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ สามารถใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ และสำหรับใครที่มีบัญชี LinkedIn แนะนำให้เขียนลงไปใน Resume เสมอ เพราะเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับด้านอาชีพโดยเฉพาะ
รูปถ่ายผู้สมัคร
รูปภาพที่ใส่ลงไปใน Resume เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตายตัวในการเขียน Resume แต่หากต้องการใส่รูปถ่ายของตัวเองลงไป แนะนำให้เลือกรูปที่เป็นรูปเดี่ยว เห็นหน้าชัด แต่งกายสุภาพ และไม่ควรเป็นภาพเซลฟี่ เพื่อเสริมให้ Resume ของเราดูดีและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
ใส่ Resume summary หรือ Objective ลงไป
ด้านล่างของข้อมูลส่วนตัว ควรมีการใส่ Objective หรือ Resume Summary ลงไปด้วย ส่วนนี้จะช่วยให้ฝ่ายบุคคลหรือหัวหน้างานที่อ่าน Resume เข้าใจภาพรวม ความตั้งใจในการสมัครงาน และเป้าหมายในอาชีพของผู้สมัคร เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานมากนัก หรือเป็นนักศึกษาจบใหม่
ตัวอย่างการเขียน Resume summary ที่ดี
- Results-driven computer science student from University X passionate about developing user-friendly software applications. Excellent problem-solving skills and ability to perform well in a team. Seeking to help Company Y develop their product as a software engineer, as well as grow and develop my own skills as a coder.
- Customer service representative with 5+ years of experience in telephone customer service, tech support, and customer care. Familiar with Intercom, Drift, and several other customer service software solutions. Very organized and meticulous with organizing customer interaction logs. Handled up to 100 calls daily, with duties including helping customers sign up and retrieving customer data.
ข้อมูลจาก novoresume.com
ใส่ลิสต์ทักษะทั้ง Hard skill และ Soft skill
ก่อนการเริ่มเขียน Hard skill และ Soft Skill ลงไปใน Resume ให้กลับไปอ่านที่ประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่เราต้องการสมัครอีกครั้ง เพื่อหาว่าทักษะอะไรบ้างที่องค์กรต้องการ และตัวเราเองมีทักษะอะไรที่เหมาะกับตำแหน่งดังกล่าว
หากไม่รู้จะเริ่มยังไงให้ลองลิสต์ Hard skill ออกมาก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทั้ง Hardware และ Software เช่น Microsoft Excel, Tableau, Web: HTML, CSS, Javascript, Video Editing, A/B testing ฯลฯ หรือทักษะต่าง ๆ ที่ผ่านการอบรบหรือเรียนเสริมมา รวบไปถึงทักษะที่ได้รับใบประกาศนียบัตร ซึ่งการนำเสนอ Hard skill ใน Resume หากสามารถระบุระดับความชำนาญได้จะยิ่งทำให้หัวหน้างานเข้าใจง่ายขึ้น เช่น ใส่เป็น % ใส่เป็นบาร์แบบเทียบกับ Skill อื่น ๆ ฯลฯ
ส่วน Soft skill จะนิยมใส่เป็น Bullet point ตัวอย่าง Soft skill เช่น Time management, Communication, Adaptability, Problem-solving, Teamwork ฯลฯ
ใส่ประสบการณ์ทำงานใน Resume
ถือเป็นหัวใจหลักในการเขียน Resume เลยก็ว่าได้ หากทำงานมาหลายปีหรือหลายที่ แนะนำให้เขียนแบบเรียงลำดับเวลา โดยเริ่มจากประสบการณ์ทำงานล่าสุดก่อน และเรียงลงไปจนถึงงานในอดีต ในแต่ละงานที่ทำ ให้ใส่ชื่อตำแหน่ง ชื่อบริษัท และระยะเวลาตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่
ตัวอย่างการเขียนหัวข้อประสบการณ์ทำงานใน Resume
- Senior Graphic Designer, Glow Pixel LTC, 2018 - Present
- Lab Technician, Lyfe Science CO-OP, 2019 - 2021
- Political Reporter, Washington Times, 2021 - 2022
นอกจากนี้ใส่ส่วนของรายละเอียดเนื้องานที่ทำ แนะนำให้เขียนสรุป 1 งาน 1 Bullet โดยในแต่ละ Bullet จะต้องระบุว่าเป็นงานอะไร ทำเพื่ออะไร และหากมีผลลัพธ์ให้ใส่ผลลัพธ์แบบสั้น ๆ ลงไป โดยควรจะใช้ตัวเลขเพื่อแสดงถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนยิ่งและเข้าใจได้ง่าย
ตัวอย่างการเขียนรายละเอียดเนื้องานลงใน Resume
- Junior Project Manager, Seton Hospital, 2019 - 2020
- Streamlined IT logistics and administration operations cutting costs by 25%.
- Diagnosed problems with hardware and operating systems.
- Successfully migrated two servers to new data architecture.
- Maintained the user database of over 30,000 patients.
- Managed project for lean training for all IT support officers.
- Fourth Grade Teacher, West School District, 2018 - Present
- Increased standardized test scores for students in science (30%) and reading (24%) by implementing creative coursework into the curriculum.
- Established an extracurricular book club that resulted in +50 students joining and reading an average of 9 books a year
- Integrated technology into learning with Smart Boards, iPads and Computers
- Built a collaborative and friendly classroom environment using and enforcing behavior guides, team teaching and interactive learning.
ข้อมูลจากเว็บไซต์ zety.com
ใส่ประวัติการศึกษาลงใน Resume
ประวัติการศึกษาหรือเทรนนิ่ง เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ควรเขียนใน Resume โดยเฉพาะคนที่มีประสบการณ์ทำงานไม่มากนัก หรือคนที่ต้องการเปลี่ยนงานแบบข้ามสาย หรือเปลี่ยนไปทำงานในกลุ่มธุรกิจอื่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ครอบคลุมกับงานที่สมัครไป โดยข้อมูลด้านการศึกษาควรประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้
- ประวัติการศึกษาเรียงจากล่าสุดไปยังการศึกษาในอดีต เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี มัธยมศึกษา
- เกรดเฉลี่ยที่ได้ของการศึกษาในแต่ละส่วน
- ประสบการณ์การไปดูงาน ศึกษางาน หรือแลกเปลี่ยนในโครงการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- ประสบการณ์การเป็นสมาชิกหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ
- รางวัลหรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ ที่เคยได้รับระหว่างเรียน
อ่านทบทวนข้อมูลที่เขียนใน Resume
ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการจัดรูปแบบข้อมูลและตกแต่งชิ้นงานทั้งหมดแล้ว ให้ลองอ่านข้อมูลใน Resume อีกครั้งเพื่อเป็นการทบทวน ตรวจเช็กดูการสะกดคำ เช็กไวยกรณ์ในการเขียน หรือการเว้นวรรคตอนและการใส่เครื่องหมายต่าง ๆ เพราะหลายครั้งผู้สมัครมักจะตกม้าตายไม่ได้ไปต่อเพราะสะกดคำผิดหรือเขียนผิด เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจและไม่ละเอียดถี่ถ้วนในการทำงาน หากยังไม่มั่นใจให้ลองหาบุคคลที่สามมาช่วยอ่านข้อมูลใน Resume เพื่อทบทวนอีกครั้ง หรือช่วยแนะนำว่าควรเพิ่มหรือลดข้อมูลส่วนไหมบ้าง
นอกจากนี้ Resume ควรมีเพียง 1 หน้าเท่านั้น พยายามตัดทอนคำที่ไม่จำเป็น และใส่เฉพาะเนื้อหาสำคัญลงไปให้ได้ใจความและกระชับ แต่สำหรับการสมัครงานในตำแหน่งใหญ่ ๆ หรือหัวหน้างาน อาจจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หน้าได้เพื่อความเหมาะสม
สำหรับการเขียน Resume ที่ดีควรคิดในใจเสมอว่า เราใส่ข้อมูลครบทุกด้านไหม ข้อความที่ใส่ลงไปแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การศึกษา การเข้าคอร์สอบรม ที่สำคัญคือประสบการณ์การทำงานมากน้อยแค่ไหน พยายามเน้นไปที่เนื้องานที่หลาก ๆ และใส่ตัวเลขเพื่อวัดค่าผลลัพธ์ของงานต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้อ่าน Resume เข้าใจถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานของเรา และตรวจทานทุกครั้งก่อนกดส่งให้องค์กรที่เราต้องการสมัคร เท่านี้ Resume ที่ดีก็จะสามารถพาเราผ่านด้านแรกได้อย่างแน่นอน
โปรโมชันแนะนำ
บทความแนะนำ